วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

การสัมมนาทางวิชาการ

สำหรับรายวิชาสัมมนา นี้อาจารย์ได้รวบรวมเอกสารจากหนังสือ "สัมมนา", ผล  ยาวิชัย และ "หลักการจัดสัมมนาการศึกษา", รศ.ดร.สุทธนู  ศรีไสย์ ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้นักศึกษาได้ศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติมจากคาบเรียนปกติ ซึ่งนักศึกษาไม่ได้มีโอกาสฝึกปฎิบัติได้อย่างเต็มที่นักโดยนักศึกษาจะต้องทำแบบฝึกหัดท้ายบท และสำหรับบทนี้ ให้นักศึกษาส่งคำตอบทาง mail มาที่ kanthima_sskru@hotmail.com ค่ะ (สำหรับแบบฝึกหัดที่ 1 นี้ให้ส่งก่อนวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 0.00 น.)
การดำเนินการจัดสัมมนา
          การดำเนินการจัดสัมมนาภายหลังการวางแผน และเตรียมการสัมมนาด้านต่างๆ แล้ว เมื่อกำหนดวันจัดสัมมนา กรรมการจัดสัมมนาแต่ละฝ่ายจะต้องดำเนินกิจกรรมตามกำหนดการวางแผนไว้
ซี่งในทางปฏิบัติจะดำเนินการตามขั้นดังนี้
1.     การต้อนรับ  ประธานในพิธี ผู้เข้าร่วมสัมมนา วิทยากร และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์
2.     การลงทะเบียน ดำเนินการโดยจัดโต๊ะรับลงทะเบียนไว้ในส่วนหน้าห้องสัมมนา จัดระบบบัญชี  รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมสัมมนา โดยจัดแบ่งรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนา กรณีที่เป็นนักศึกษาควรแยกตามสาขาวิชา แยกตามชั้นปี และควรจัดทำป้ายบอกไว้ให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกรวดเร็วเกี่ยวกับการลงทะเบียน การแจกป้ายชื่อ แจกเอกสารที่จัดเก็บไว้ในรูปกระเป๋า หรือจัดเก็บในแฟ้มปกอ่อน การสรุปจำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาและผู้สังเกตการณ์ที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประสานงานกับวิทยากรและคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายเหรัญญิก ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ฝ่ายเอกสารการพิมพ์ ฝ่ายที่พัก ตลอดจนการจัดแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อการประชุมประกอบการสัมมนา
3.     พิธีเปิดการสัมมนา การจัดสัมมนาถือว่าเป็นการจัดกิจกรรมที่มีแบบแผน มีลักษณะเป็นทางการ ซึ่งถือว่าเป็นพิธีการที่เป็นมงคล และแสดงถึงเกียรติยศ ตามขนบธรรมเนียม โดยผู้จัดสัมมนาจะเชิญผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานหรือผู้มีเกียรติที่เห็นว่าเหมาะสมมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา
พิธีเปิดการสัมมนา จะเริ่มจาก พิธีกรกล่าวนำเข้าสู่บรรยากาศของการสัมมนา และเรียน
เชิญประธานในพิธีเปิด  ฟังแถลงรายงานและกล่าวปราศรัยเปิดการสัมมนา และเชิญประธานดำเนินการสัมมนากล่าวรายงานต่อประธานในพิธี  คณะกรรมการฝ่ายเลขานุการจัดสัมมนา ควรจัดทำร่างคำกล่าวรายงาน และคำกล่าวเปิดการสัมมนาส่งให้ผู้กล่าวรายงานและประธานในพิธีได้อ่านก่อนได้ยิ่งดี เพื่อจะได้พิจารณาตัดทอน หรือเพิ่มเติมความคิดเห็นบางประการของตนเองลงไปได้ สำหรับคำกล่าวรายงานในพิธีสัมมนาโดยทั่วไป มีใจความสำคัญดังนี้
                   คำกล่าวรายงานของประธานดำเนินการ   กล่าวต่อประธานในพิธีเริ่มด้วย  คำกล่าวแสดงความขอบคุณ กล่าวความเป็นมาของการสัมมนา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ  หัวข้อสัมมนา  วิทยากรผู้เข้าร่วมสัมมนา และผลที่คาดว่าจะได้รับ และกล่าวเขิญให้ประธานในพิธีทำพิธีเปิดการสัมมนา
                   คำกล่าวเปิดการสัมมนาโดยทั่วไปจะมีใจความสำคัญ  ดังนี้
                   คำกล่าวจะเริ่มต้นด้วยการกล่าวตอบแก่ผู้กล่าวรายงาน  และผู้เข้าร่วมการสัมมนา  กล่าวแสดงความรู้สึกที่ได้รับเชิญให้เป็นประธาน  กล่าวแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับการจัดสัมมนา ให้ข้อคิด อันเป็นประโยชน์ต่อการสัมมนา และกล่าวเปิดสัมมนา
๑.     การดำเนินการประชุมสัมมนา  หลังพิธีการเปิดการสัมมนาอย่างเป็นทางการแล้ว ก่อนที่จะ
เริ่มการนำเสนอการสัมมนากลุ่มแรก และเป็นรายกลุ่มย่อยตามลำดับที่นำเสนอในโครงการสัมมนา มักมีการนำเสนอ ปูพื้นฐานความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาก่อน เพื่อให้ได้รับการปรับพื้นฐานความรู้เดิมก่อนเสริมความรู้ประสบการณ์เพิ่มเติม และยังเป็นการช่วยซักซ้อมความเข้าใจให้ตรงกัน อันนำไปสู่การถกปัญหาต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง ผู้จัดสัมมนาอาจเลือกใช้การประชุมสัมมนาแบบใดแบบหนึ่ง หรือหลายแบบรวมกันก็ได้ตามความเหมาะสมดังนี้
๔.๑ การบรรยาย (Lecture) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้ ในหัวข้อที่
ผู้จัดกำหนดให้ ซึ่งจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จัดสัมมนาผู้ที่ทำหน้าที่บรรยายหรือปาฐกถานั้น อาจเป็นวิทยากรที่ได้รับเชิญ หรือประธานในพิธีเปิดการสัมมนาก็ได้ ในกรณีที่ประธานในพิธีจบการปราศรัย เปิดการสัมมนาแล้ว ก็จะพักรับประทานน้ำชา  หลังจากนั้นจึงให้สมาชิกเข้ามารับฟังการบรรยายร่วมกัน
          บรรยาย หมายถึง การชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟัง (ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๔๖ : ๖๐๖)
การบรรยายหรือการปฐกถานั้น ให้พิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งจุดเด่นของวิธีนี้ก็คือ เร็ว เพราะผู้บรรยายนำเสนอเรื่องโดยตรง (ไม่ต้องใช้เทคนิคอะไร ลักษณะที่เราคุ้นๆ กันนั่นแหละนั่นคือ teacher talk แบบ one man show ค่ะ) 
          ๔.๒ การอภิปราย (Discussion) เป็นวิธีการกลุ่มของคนจำนวนหนึ่งที่มีความรู้และประสบการณ์มาร่วมกันนำเสนอความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยมีผู้ทำหน้าที่ดำเนินการอภิปรายคนหนึ่งและการอภิปรายที่นิยมใช้ในที่ประชุมสัมมนามีดังนี้
                        ๔.๒.๑ การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ (Symposium Discussion) เป็นวิธีการอภิปราย ประกอบด้วย
ผู้เข้าร่วมอภิปราย ผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นการมุ่งนำเสนอความรู้แก่ผู้ฟังมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นในเรื่องทั่วๆ ไป โดยผู้เข้าร่วมอภิปรายแต่ละคนจะได้รับมอบหมายจากผู้ดำเนินการอภิปราย ให้พูดในส่วนหนึ่งของเรื่องเป็นตอนๆ ต่อเนื่องกันไปจนจบเรื่อง ในตอนท้ายของการอภิปรายจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถาม
                        วิธีการอภิปรายแบบนี้จะช่วยให้ผู้ฟังมองเห็นแง่คิดต่างๆ ที่เป็นไปได้ตามหัวข้อเรื่องที่อภิปราย และช่วยขยายความรู้ของผู้ฟังให้กว้างขวางยิ่งขึ้น การจัดที่นั่งคณะผู้อภิปราย นิยมจัด เป็นแถวหน้ากระดาน โดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายนั่งตรงกลาง อภิปรายร่วมกัน

                                             การจัดที่นั่งคณะผู้อภิปรายแบบ symposium                                        ที่มาของภาพ http://t1.gstatic.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น