วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการศึกษา


ตอนนี้เรามาทวนในเรื่องของนวัตกรรมกันนะคะ อันดับแรกขอทำความเข้าใจก่อนว่า
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา  ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้เบ็ดเสร็จทุกอย่าง  นวัตกรรมฯ บางอย่างก็ล้มเหลว  นวัตกรรมบางอย่างก็ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย (gotoknow) ปัญหาในการนำนวัตกรรมไปใช้ตอนนี้ก็คือสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นครูที่น่าจะเป็นที่พึ่งทางปัญญาของสังคมกำลัง ฮิต นวัตกรรมแบบ C&D คือ Copy and Develop ซึ่งสิ่งที่น่าเศร้าก็คือ พบว่าหลายคน แม้แต่จะ Copy ก็ยังไม่รู้ว่าต้นแบบตัวไหนดี ตัวไหนถูกต้อง ด้วยซ้ำ และหลายคน ที่ Copy มาเป๊ะๆ ไม่ Develop เลยค่ะ เอาล่ะเราพักการบ่นไว้ก่อน มาดูภาคทฤษฎีกันดีกว่าค่ะ
ด้านความหมาย
นวตกรรม หรือ นวกรรม  มาจากคำว่า
                        นว   หมายถึง   ใหม่
                        กรรม หมายถึง  การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ๆ
ซึ่งสำหรับภาษาอังกฤษ ก็คือคำว่า Innovation มาจากคำกริยาว่าinnovate นั่นเอง โดยรากศัพท์จริงๆมาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ดังนั้นสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
          ด้านการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
                   ก็ต้องค้นใบความรู้เรื่องนี้มาดูนะคะนักศึกษา ซึ่งก็มีนักการศึกษาหลายท่านให้เกณฑ์ไว้ แต่สรุปสุดท้ายจริงๆ ก็มีอยู่ประมาณว่า
1.     จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2.     มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.     มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.     ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
          จำได้บ้างไหมคะ????
          อันอื่นๆ ก็มีกันทุกใบความรู้แหละค่ะ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการนำไปใช้ ลักษณะของสื่อประเภทต่างๆ ว่าเป็นยังไงมีลักษณะเฉพาะตัวจุดเด่นจุดด้อยยังไง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารประกอบการสอน  บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน  แบบฝึกทักษะ CAI เป็นต้น นักศึกษาควรจะจำความเหมือนและความแตกต่างของนวัตกรรมประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่เกี่ยวพันกับ ICT ซึ่งเป็นแนวโน้มของนวัตกรรมในปี 2000 นะคะเช่น CAI กับ Web base learning ต่างกันยังไง ซึ่งอาจารย์ก็ถามแล้วถามอีกในห้องนะคะ          อีกประการที่สำคัญก็คือ จิตวิทยาการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานการสร้างนวัตกรรมมีอะไรบ้าง ซึ่งถ้านักศึกษาตั้งใจฟังในห้องเรียนก็จะจำได้เพราะอาจารย์พูดถึงบ่อยมาก และหากได้รับนวัตกรรมที่อาจารย์ตรวจให้ก็จะจำได้นะคะ
          และที่สำคัญเรื่องสุดท้ายที่อาจารย์เป็นห่วงก็คือเรื่องของการประเมินนวัตกรรม ซึ่งเป็นโบนัสให้กับคนที่ไม่ขาดเรียนคาบสุดท้ายนะคะ อาจารย์จะทวนเรื่องนี้ให้ค่ะ ก็คือเริ่มตั้งแต่ความหมายเลย
          ความหมายของการประเมินนวัตกรรม :    หมายถึง การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมในทุกๆ ด้าน ภายหลังการทดลองใช้นวัตกรรมสิ้นสุดลงแล้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ (information) เกี่ยวกับนวัตกรรมอันจะนำไปสู่การตัดสินใจตีค่านวัตกรรมดังกล่าวว่า
-          ดีหรือไม่ดี
-          ประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ
-          มีส่วนใดที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งวิธีการประเมินก็ทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถาม และการหา ค่าอะไรต่างๆ
นักศึกษาก็จำง่ายๆ แล้วกันค่ะ ว่าในการทำนวัตกรรมนั้นที่นักศึกษาส่งงานอาจารย์แล้วมีช่วงท้ายของนวัตกรรมที่มีแบบสังเกตพฤติกรรมต่างๆ แบบประเมินความก้าวหน้า D1 D2 อะไรต่างๆ ก็คือส่วนหนึ่งของการประเมิน แต่ทั้งหลายทั้งปวง เราควรไล่มาตั้งแต่ ตอนทำนวัตกรรมเสร็จแล้วเราจะทำอะไรกันบ้าง 1. ล่ะ ทำเสร็จก็ต้องเอาแบบฝึกหัดไปให้ผู้เชี่ยวชาญ(ก็คือ อาจารย์มหาลัยที่ชำนาญเรื่องนี้  อาจารย์3 และ ศน. แล้วแต่รู้จักใคร) 3-5 คน พิจารณาร่วมกันว่าข้อไหนเหมาะไม่เหมาะ แล้วเราก็เอาที่เขาคิดเห็นมาเลือกข้อที่ทุกคนว่า o.k. มาใส่ในนวัตกรรมก็เป็นพวก test ทั้งหลายนั่นเองเขาเรียกว่าการหาค่า IOC (อันนี้ตอนทำจริงๆ ก็ติดต่ออาจารย์มาจะสอนโดยละเอียด) ทีนี้ได้แล้วก็เอาไปทดลองใช้ซึ่งก็มี 3 ระดับคือ อันดับแรกทดลองใช้ 1:1 จากนั้น 1:10 สุดท้ายทั้งห้อง หรือถ้านักเรียนเยอะก็ 1:100 แล้วก็เอามาปรับปรุงนวัตกรรมให้เลิศ จากนั้นถึงไปเข้าเล่มเอามาใช้จริงนะคะ แต่ที่สำคัญที่นักศึกษาต้องรู้ในวินาทีนี้ก็คือค่า E1 E2 ว่ามันคืออะไร นั่นก็คือค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมพูดง่ายๆ ก็คือ เก็บจากคะแนนเก็บ กับคะแนนสอบปลายภาค อะไรเป็นอะไรก็ดังนี้ค่ะ
1.     พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ ) หรือ E1 = ค่าเฉลี่ยร้อยละจากคะแนนระหว่างใช้นวัตกรรม
2.     พฤติกรรมขั้นสุดท้าย ( ผลลัพธ์ ) หรือ E2 = ค่าเฉลี่ยร้อยละจากคะแนนการทดสอบหลังใช้
นวัตกรรม
ซึ่งวิธีการดูว่าค่าประสิทธิภาพเหมาะหรือไม่เหมาะก็ดูที่เนื้อหาธรรมชาติวิชาเป็นหลัก ดังนี้ค่ะ
1. เนื้อหาที่เป็นความรู้ ความจำ
     จะกำหนด E1 / E2 =80/80 หรือ 85/85 หรือ 90/90 ขึ้นกับความสามารถของนักเรียน /
     ความยากของเนื้อหา
2. เนื้อหาที่เป็นทักษะหรือ จิตพิสัย จะกำหนด E1/E2 = 75 / 75
     เป็นยังไงคะแล้วนักศึกษาคิดว่าวิชาภาษาอังกฤษของเราเนี่ยน่าจะใช้เกณฑ์อะไรเนี่ย???
สรุปของสรุปก็คือ นักศึกษาต้องหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อยๆ ในเรื่องของนวัตกรรมนะคะเพราะชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าใหม่ไปเรื่อยค่ะ และเราต้องเรียนรู้จากการทำจริง การเรียนทฤษฎีก็ช่วยบ้างอย่างน้อยก็ช่วยให้เลือก Copy ได้นวัตกรรมที่ถูกต้องและมีคุณภาพพอจะเอามาใช้ได้ แต่ถ้าเราจะทำผลงานวิชาการ ก็ควรคิดเองทำเองไม่ต้องปรับของคนอื่นมาตั้งต้นอีก ทีนี้ลอ่งมาทำแบบฝึกหัดซักแค่ 10 ข้อนะคะเผื่อจะได้เป็นแนวทางค่ะ ก็ทำแบบวิชาสัมมนาค่ะ ส่งที่ e-mail ของอาจารย์แหละค่ะ
1) ข้อใดคือความหมายที่ถูกต้องที่สุดของ"นวัตกรรม"
          ก. สื่อ/วิธีการสอนที่ไม่เคยมีมาก่อน      
          ข. สื่อ/วิธีการสอนที่รื้อฟื้นมาจากของเดิมบ้าง
          ค. สื่อ/วิธีการสอนที่เอาแบบอย่างมาจากงานของผู้อื่น
          ง. สื่อ/วิธีการสอนที่ใช้แนวคิดหรือวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน
) ข้อใดไม่ใช่แนวคิดพื้นฐานในการจัดทำนวัตกรรมการศึกษา
ก. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)
ข. ความพร้อม (Readiness)
ค. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
ง. กฎแห่งการฝึกฝน (Law of Practice)
3) ประเด็นต่อไปนี้คือประเด็นที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการตีค่านวัตกรรม ยกเว้นประเด็นใด
          ก. นวัตกรรมนั้นดีหรือไม่ดี                 
ข. นวัตกรรมนั้นได้รับความนิยมแพร่หลายหรือไม่
          ค. นวัตกรรมนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ
          ง. นวัตกรรมนั้นมีส่วนใดที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิมหรือไม่
4) นวัตกรรมและสื่อมีความแตกต่างกันในด้านใด
          ก. ระบบการใช้งาน/รูปแบบการพัฒนา                       
          ข. นวัตกรรมต้องหาค่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล
          ค. การแก้ปัญหาและพัฒนางานในการจัดการเรียนการสอน          
          ง. การยอมรับในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการใช้งานปัจจุบัน

๔) ข้อใดคือจุดเด่นของนวัตกรรมประเภท Multimedia
          ก. มีภาพเคลื่อนไหวสามารถเร้าความสนใจของเด็กเล็กได้
          ข. เป็นนวัตกรรมประเภทสื่อผสมที่รวบรวมเอกสารประกอบการสอนและตัวสื่อที่มีหลากหลาย
          ค. เป็นนวัตกรรมที่ผนวกเกมเข้าไปด้วยทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
          ง. เป็นนวัตกรรมที่ผู้เรียนสามารถตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้ด้วยตนเอง

6) ข้อจำกัดของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือข้อใด
          ก. ต้องลงทุนคอมพิวเตอร์มาก                 ข. ต้องเสียเวลาพัฒนาผู้สอนมาก
          ค. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบสูง     ง. ต้องเสียเวลาเตรียมสภาพแวดล้อมและหลักสูตร
7) ข้อใดเป็นตัวย่อคำที่มีความหมายของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
Computer Assisted Instruction
    ก. CAI            ข. CAL           ค. CBI            ง. ถูกทุกข้อ
8)      ข้อใดคือจุดเด่นของ CAI ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้มากกว่า ชุดการสอน
          เอกสารประกอบการสอน หรือแบบฝึกทักษะการเรียนรู้
ก.      CAI ต้องมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
ข.      CAI ต้องใช้ในลักษณะของ e-learning เท่านั้น ดังนั้นหากพื้นที่ใดไม่มี internet จะใช้ไม่ได้
ค.      CAI สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา และมีภาพประกอบที่น่าสนใจกว่านวัตกรรมรูปแบบอื่น
ง.       CAI มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีในรูปแบบที่มีลักษณะ interactive มากกว่านวัตกรรมรูปแบบอื่น
9) คนกลุ่มใดเหมาะสมที่จะเป็นผู้ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด
          ก. ครูผู้สอน                                            ข. นักคอมพิวเตอร์
          ค. นักเทคโนโลยีการศึกษา                           ง. ทั้ง 3 กลุ่มต้องร่วมมือกันผลิต
10) การออกแบบบทเรียนโดยให้ผู้เรียนต้องใส่ชื่อและข้อมูลอื่นๆการป้อนข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด
          ก. ด้านการพิมพ์ข้อมูลการเรียน                     ข. ด้านการเก็บเพื่อเป็นฐานข้อมูล
          ค. ด้านการสร้างความน่าสนใจของบทเรียน        ง. ถูกทุกข้อ


        ที่มาของภาพ: นักศึกษาฝึกสอนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ขโมยรูปลูกศิษย์เพื่อนมาจาก Facebook ค่ะ)
                                                 โชคดีนะคะ.....







วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดสัมมนาแบบทางการและการจัดโต๊ะหมู่บูชา

ทีนี้มาถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องที่จะว่าไปก็ไกลตัวนักศึกษาพอสมควรแต่เราก็จำเป็นต้องรู้เอาไว้นะคะ ถ้าหากจับพลัดจับผลู ต้องจัดเองขึ้นมา นั่นก็คือ การจัดสัมมนาแบบทางการ ซึ่งจะรวมไปถึงการจัดสิ่งอันควรมีบนเวทีด้วย
การจัดห้องสัมมนาแบบทางการ  มีองค์ประกอบดังนี้ค่ะ
1)    ธงชาติ โต๊ะหมู่บูชา พระบรมฉายาลักษณ์ จัดวางด้านขวาของเวที หันหน้าเข้าหาผู้ร่วมสัมมนา ธงชาติอยู่ด้านซ้าย รูปแบบการจัดเวทีประชุมสัมมนาของโต๊ะหมู่บูชา พระบรมฉายาลักษณ์ ตั้งไว้ด้านขวาของโต๊ะหมู่บูชา  โต๊ะหมู่บูชาวางพระพุทธรูป เทียนคู่ กระถางธูปจากบนลงล่าง ตามลำดับ และโต๊ะกราบหมอนรองเข่า ธูปที่อยู่บนกระถางควรทาน้ำมัน หรือถ้ากลัวไฟแรงไป ก็ทายาหม่อง ซึ่งจะช่วยให้ติดไฟได้ง่าย เตรียมไม้ขีดไฟ เทียนติดปลายไม้ สำหรับจุดไฟให้ประธานจุดธูปเทียน ดังภาพที่แสดง
                           ที่มาของภาพ http://www.m-culture.go.th/
2)    โต๊ะประธาน หรือวิทยากร จัดวางไว้กลางเวทีตามจำนวนวิทยากร จะใช้โต๊ะหรือแท่นบรรยาย ถ้าวิทยากรบรรยายคนละเวลา ควรจัดโต๊ะรับแขกไว้อีก 1 ชุด ด้านซ้ายของเวที จัดไมโครโฟนตามจำนวนวิทยากร มีแจกันดอกไม้ ติดป้ายชื่อวิทยากรให้ตรงกับที่นั่ง ในพิธีปิดเปลี่ยนป้ายชื่อวิทยากรเป็นชื่อประธานแทน
3)    ฉากหลัง หรือม่านหลังเวทีสัมมนา ติดตัวอักษร หรือไวนิวล์ หรือถ้าเป็นเวทีขนาดใหญ่มีโปรเจกเตอร์ ก็ขึ้นพาวเวอร์พอยต์เป็นฉากหลัง มีชื่อการสัมมนา ประกอบด้วย ชื่อเรื่องการสัมมนา ผู้จัดสัมมนา วัน-เดือน-ปี ตัวอักษรให้มีลักษณะเด่นสะดุดตา สวยงาม ขนาดใหญ่เล็กตามควยามสำคัญของสาระได้ ดังแสดงในภาพ
                ที่มาของภาพ http://www.rd1677.com/branch.php?id=41646
 
 ๔)    แท่นสำหรับพิธีกร  จัดอยู่ด้านล่างขวามือของเวที  อยู่ระหว่างโต๊ะประธานกับผู้เข้าร่วมสัมมนา มีไมโครโฟน ช่อดอกไม้สดจัดรูปทรงเตี้ย ไม่บังหน้าพิธีกร ดังภาพ
             ที่มาของภาพ  http://www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1256961643.jpg
\
5)    แท่นหรือโต๊ะประธานสำหรับพิธีเปิด อาจจัดอยู่บนเวที หรือจัดให้อยู่ด้านล่างเวที ประดับด้วยช่อดอกไม้สด บริเวณหน้าแท่นไม่ให้บังหน้าประธาน กรณีไม่ต้องใช้ต่อในการสัมมนา (หมายถึงประธานมาเปิดแล้วกลับเลยไม่ได้อยู่ร่วม) ให้ยกออกเก็บหลังจากพิธีเปิดเสร็จ
               ที่มาของภาพ  http://www.oaep.go.th/dt_news3.php?id=997
1)    โต๊ะหมู่บูชา ในการจัดประชุมสัมมนาต่างๆ นิยมตั้งธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร่วมกับโต๊ะหมู่บูชา เพื่อให้ครบสามสถาบันคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยมีหลักในการจัดคือ โต๊ะหมู่บูชาจะอยู่ตรงกลาง ธงชาติด้านขวา ตั้งพระบรมฉายาลักษณ์หรือ พระบรมสาทิสลักษณ์ ไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่
             หลักการจัดคือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิด จะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูป               ที่ประดิษฐานที่โต๊ะหมู่บูชาส่วนปริมาณอาจแตกต่างออกไปได้ (ซึ่งที่พบว่าผิดบ่อยๆ คือ
ก้านดอกบัวในแจกัน สูงเกินพระเศียรพระพุทธรูป) สำหรับปัจจุบันนี้โต๊ะหมู่บูชาที่นิยมจัด    ในงานสัมมนาคือ โต๊ะหมู่บูชาแบบหมู่เจ็ดและหมู่เก้า
                                         ภาพโต๊ะหมู่บูชาหมู่เจ็ด
 
ภาพโต๊ะหมู่บูชาหมู่เก้า
        ที่มาของภาพ    http://www.tlcthai.com/horo/horo-fortune/279.html
     

โต๊ะหมู่บูชา หมู่ ๗  ระกอบด้วยเครื่องบูชา คือ 
                - กระถางธูป     กระถาง
                - เชิงเทียน   คู่
                - พานพุ่มดอกไม้     พาน
                - แจกันดอกไม้ ๒ คู่
        
โต๊ะหมู่บูชา หมู่   ระกอบด้วยเครื่องบูชา คือ 
                - กระถางธูป     กระถาง
                - เชิงเทียน   คู่
                - พานพุ่มดอกไม้    พาน
                - แจกันดอกไม้ ๓ คู่
                (โต๊ะหมู่ ๙ นิยมใช้จัดตั้งในสถานที่กว้างขวางโอ่โถง เช่น  ในอุโบสถ)
วิธีการและข้อควรคำนึงในการจัดโต๊ะหมู่บูชาคือ
-        โต๊ะหมู่บูชาต้องตั้งอยู่ด้านขวามือของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นประธานในพิธีเสมอ
-        และควรหันหน้าโต๊ะหมู่ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ
-        ดอกไม้ควรใช้ดอกไม้สดไม่ควรใช้ดอกไม้แห้งหรือดอกไม้พลาสติก
-        ถ้าเป็นห้องประชุมสัมมนาโต๊ะหมู่บูชาต้องอยู่ส่วนพื้นที่ด้านหน้าของผู้เข้าประชุมสัมมนา
-        เทียนชนวนที่ใช้จุดเทียน และธูปควรตรวจดูไส้เทียนให้เรียบร้อยก่อนเวลาใช้จะได้ไม่มีปัญหา ด้ามเทียนชนวน ควรให้มีขนาดยาวพอดีกับความสูงต่ำของโต๊ะหมู่ด้วย
-        หมอนกราบตรงหน้าโต๊ะหมู่บูชา ควรปูเสื่อ หรือพรมและมีหมอนรองกราบ

สำหรับแบบฝึกหัดในครั้งนี้เนื่องจากเป็นเรื่องสุดท้ายอาจารย์ขอเป็น 10 ข้อแล้วกันนะคะ
1.    รูปแบบการจัดเวทีประชุมสัมมนาแบบเป็นทางการ องค์ประกอบใดที่ขาดไม่ได้
ก.     ธงชาติ โต๊ะหมู่บูชา พระบรมฉายาลักษณ์
ข.      โต๊ะประธาน หรือวิทยากร จัดวางไว้กลางเวที
ค.     แท่นสำหรับพิธีกร จัดอยู่ด้านล่างขวามือของเวที
ง.      แท่นประธานสำหรับเปิดพิธี จัดอยู่ด้านล่างซ้ายมือหันหน้าเข้าหาเวที
2.    ควรวางแท่นประธานกล่าวเปิดงานไว้ส่วนไหนของห้องสัมมนา
ก.     กลางเวที                          ข. ขวามือของเวทีสัมมนา
ค.     ซ้ายมือของเวทีสัมมนา        ง. ล่างซ้ายมือหันหน้าเข้าหาเวที
3.    ฉากหลังหรือม่านหลังเวทีติดตัวอักษร หรือไวนิวล์ หรือฉายพาวเวอร์พอยต์ ชื่อสัมมนาประกอบด้วย
ก.     ชื่อเรื่อง / เวลา/ สถานที่
ข.      ชื่อเรื่อง/ เวลา/ สถานที่/ ว.ด.ป.
ค.     ชื่อเรื่อง/ หน่วยงานที่จัด/ เวลา/ สถานที่
ง.      ชื่อเรื่อง/ ว.ด.ป./ หน่วยงานที่จัด/ สถานที่
4.    องค์ประกอบเข้าชุดโต๊ะหมู่บูชาประกอบด้วยสิ่งใด
ก.     พระพุทธรูป แจกันดอกไม้ กระถางธูป
ข.      พระพุทธรูป แจกันดอกไม้สด เชิงเทียน ธูป
ค.     พระพุทธรูป ช่อดอกไม้สด ผลไม้ กระถางธูป
ง.      พระพุทธรูป แจกันดอกไม้สด เชิงเทียน กระถางธูป พานดอกไม้สด
5.    การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ควรจัดตั้งด้านใดของเวที
ก.     ด้านซ้ายมือบนเวที              ข. ด้านซ้ายมือหน้าเวที
ค. ด้านขวามือบนเวที               ง. ด้านขวามือข้างเวที
          6. การจัดโต๊ะหมู่บูชาในพิธีการทางราชการนิยมใช้โต๊ะหมู่ใด
                   ก. หมู่สี่ และหมู่ห้า              ข. หมู่เจ็ด และหมู่แปด
                   ค. หมู่เจ็ดและหมู่เก้า           ง. หมู่แปดและหมู่เก้า
          7, การจัดโต๊ะหมู่บูชาหมู่เจ็ด โต๊ะตัวล่างสุดมีไว้จัดวางวัสดุบูชาใด
ก.     เชิงเทียนและผลไม้         ข. ถาดผลไม้และน้ำดื่ม
ค. กระถางธูปและเชิงเทียน   ง. แจกันดอกไม้และเชิงเทียน
8. ชุดเครื่องไหว้โต๊ะหมู่บูชาประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง
          ก. ธูปสามดอก  เทียนสองเล่ม  และดอกไม้สด
          ข. ธูปสามดอก  เทียนสองเล่ม  และดอกไม้พลาสติก
          ค. ธูปสามดอก  เทียนสองเล่ม  ดอกไม้และผลไม้
          ง. ธูปสามดอก  เทียนสองเล่ม  แจกันดอกไม้และผลไม้
9. ชุดเครื่องไหว้โต๊ะหมู่บูชาอื่นๆ ที่ตั้งบนโต๊ะหมู่บูชาได้แก่
          ก. พานพุ่ม พานดอกไม้ และแจกันดอกไม้สด
          ข. พานพุ่ม พานดอกไม้ และแจกันดอกไม้พลาสติก
          ค. พานพุ่ม พานดอกไม้ และแจกันดอกไม้ และกระถางธูป
          ง. พานพุ่ม พานดอกไม้ และแจกันดอกไม้ กระถางธูปและเชิงเทียน
10. โต๊ะหมู่บูชาห้องประชุมสัมมนา ควรจัดตั้งธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์
      อย่างไร
ก.     ธงชาติอยู่ด้านขวาของโต๊ะหมู่ พระบรมฉายาลักษณ์ ตั้งไว้ด้านซ้าย
ของโต๊ะหมู่
ข.      ธงชาติอยู่ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่ พระบรมฉายาลักษณ์ ตั้งไว้ด้านขวา
ของโต๊ะหมู่
ค.     ธงชาติอยู่ด้านข้างของโต๊ะหมู่ พระบรมฉายาลักษณ์ ตั้งไว้ด้านข้าง
ของโต๊ะหมู่
ง.      ธงชาติอยู่ใดก็ได้ พระบรมฉายาลักษณ์ ตั้งไว้ใดก็ได้ตามความเหมาะสม
                                                        สู้ๆ ค่ะ